ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลงานสำคัญของ สอวช. ในปี 2563 มิติที่ 5 : การปลดล็อคกฎระเบียบให้เอื้อต่อการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Regulatory Unlock)

เข้าสู่การดำเนินงานในมิติที่ 5 ของ สอวช. ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปลดล็อคกฎระเบียบให้เอื้อต่อการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Regulatory Unlock) เพื่อเป็นการสร้างความคล่องตัว ลดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในหน่วยงานวิจัยของรัฐและมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ภาคเอกชน โดยเฉพาะ SME และภาคประชาสังคมเป็นผู้ทำวิจัยและนวัตกรรมมากขึ้น รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตรงตามความต้องการของตลาด และจูงใจให้นักวิจัยและบุคลากรในมหาวิทยาลัยออกมาดำเนินธุรกิจนวัตกรรมเพิ่มขึ้น

6 ผลงานสำคัญในมิติที่ 5 ประกอบด้วย

1. ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นการปลดล็อคอุปสรรคและส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมให้เกิดความคล่องตัวและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้างกับการจัดหาพัสดุของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม

โดยมีประเด็นปลดล็อคและสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนาและเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบัน คือ 1)  ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมการกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบาย พิจารณาวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง 2) เอกสารการจัดซื้อจัดจ้างสามารถทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 3) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีอำนาจการสั่งซื้อสั่งจ้าง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 100 ล้านบาท หากเกินวงเงินให้ถือเป็นอำนาจของสถาบันอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการบริหารหน่วยงาน 4) ลดขั้นตอนการซื้อหรือจ้างเหลือ 2 วิธี ได้แก่ วิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง และกำหนดวิธีการให้ง่ายขึ้น 5) โอนหรือบริจาคพัสดุให้หน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมดำเนินโครงการหรือองค์กรสาธารณะได้ 6) สามารถเลือกใช้แบบสัญญาของหน่วยงานของรัฐแบบสัญญามาตรฐานที่ผ่านอัยการสูงสุด 7) การจัดซื้อพัสดุต่างประเทศไม่จำกัดวงเงินจ่ายล่วงหน้าและหลักประกันสัญญา ยืดหยุ่นได้ตามข้อตกลงประเพณีปฏิบัติทางการค้า 8) เพิ่มวงเงินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงเป็น 1 ล้านบาท โดยให้หัวหน้าโครงการเป็นผู้เจรจาต่อรองและไม่ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือได้ โดยร่างประกาศฯ นี้ ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากสภานโยบายฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563 หลังจากนั้น สอวช. ได้ดำเนินการส่งร่างประกาศดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพิจารณา และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

2. หลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม

ระเบียบสภานโยบายฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2563 มีรายละเอียด ดังนี้ 1) ให้ภาครัฐสามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน เช่น SME และ Startup 2) แก้ปัญหาความหลากหลายของการให้ทุนที่มีรูปแบบขั้นตอนที่ต่างกันและเป็นหลักเกณฑ์กลางใช้อ้างอิงให้ทุนมีมาตรฐานเดียวกัน 3) ให้ภาครัฐสามารถให้ทุนแก่ภาคเอกชนและประชาสังคมได้โดยตรงซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและนวัตกรรมในภาคเอกชนและประชาสังคม รวมทั้งสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม 4) สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมภาคเอกชนและภาคประชาสังคมให้เป็นไปตามโจทย์ความต้องการของประเทศผ่านระบบการจัดสรรทุน โดย ระเบียบฯ นี้ ได้รับความเห็นชอบจากสภานโยบายฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

3. การส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ (Innovation Sandbox)

Innovation Sandbox จะช่วยนำไปสู่การปรับปรุงและออกแบบรูปแบบการกำกับดูแล และมาตรฐานสำหรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้การดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดกลไกในการรองรับและพัฒนาแนวทางในการกำกับดูแลการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นระบบ ลดระยะเวลาในการนำสินค้าและบริการนวัตกรรมออกสู่ตลาด ซึ่งช่วยเพิ่มแรงจูงใจและโอกาสในการประสบความสำเร็จของผู้ประกอบการนวัตกรรม ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการร่วมกันกำหนดแนวทางกำกับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ให้เป็นที่ยอมรับ เกิดธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ สร้างงาน สร้างเงิน และสร้างรายได้ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และภาษีที่รัฐสามารถเรียกเก็บได้มากขึ้น

โดย สอวช. ได้จัดทำหลักการ Innovation Sandbox เสนอที่ประชุมสภานโยบายฯ ครั้งที่ 3/2562 และมีมติเห็นชอบในหลักการและแนวทางการส่งเสริม Innovation Sandbox ตามที่ สอวช. เสนอ และมอบหมายให้จัดทำระเบียบที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะกรรมการ Sandbox ต่อไป ทั้งนี้ สอวช. อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมประเด็นการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นกรณีศึกษานำร่องจัดตั้งโครงการ โดยจะจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่เป็นข้อจำกัดเพื่อหาแนวทางปลดล็อกทั้งในเชิงกฎหมายระเบียบ ขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึง กลไกการดำเนินงานของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง (Innovation Sandbox) โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ผู้ประกอบการนักวิจัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

4. การส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนโดยกลไก Holding Company

การส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนในธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก Holding Company เป็นกลไกที่จะช่วยผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปแบบที่หน่วยงานของรัฐและมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศนำมาใช้และประสบความสำเร็จ ก่อให้เกิดการสร้างรายได้และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในระบบวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยยกระดับเศรษฐกิจนวัตกรรมให้กับประเทศ และเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐเป็น 30% ในปี 2565

สอวช. ได้หารือร่วมกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งและได้จัดทำหลักการของชุดมาตรการส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนโดยกลไก Holding Company เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงอำนาจหน้าที่ การบังคับใช้กฎหมายในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการร่วมลงทุน การส่งเสริมการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านธุรกิจนวัตกรรมมืออาชีพ ตลอดจนมาตรการสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัยออกไปดำเนินธุรกิจนวัตกรรม ซึ่งข้อเสนอมาตรการข้างต้นนี้จะช่วยให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว ผู้บริหารหน่วยงานสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส ซึ่งจะส่งผลให้การร่วมลงทุนกับภาคเอกชนเกิดประสิทธิผลและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่มหาวิทยาลัย บริษัทเอกชนที่อยู่ในห่วงโซ่มูลค่า และเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้

การส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนโดยกลไก Holding Company ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากสภานโยบายฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563 และให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง การส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ โดยคณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดแนวทาง กลไกมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้สามารถดำเนินงานส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และกำหนดแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการเริ่มผลักดันการใช้ประโยชน์จากกลไก Holding company

5. (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ….

สอวช. ได้ผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ทำให้โอกาสเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังภาคเอกชนเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์เพิ่มมากขึ้น สร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้รับทุนในการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของตลาด ส่งเสริมให้เกิดบริษัทธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่แยกตัวออกจากมหาวิทยาลัยและมีนักวิจัยเข้าร่วม (Spin-off) จำนวนมากขึ้น กระตุ้นให้หน่วยงานผู้รับทุนสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ทำให้ระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เกิดธุรกิจจัดตั้งใหม่ Startup ที่ขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมมากขึ้นในระบบวิจัยและนวัตกรรม มีสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง นำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีนัยยะสำคัญ และมีรายได้กลับคืนสู่รัฐในรูปภาษี ค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งสามารถนำกลับมาสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาให้แก่ประเทศต่อไปได้อีก และนอกจากนี้ยังสามารถพิสูจน์ได้ว่าการลงทุนด้านการวิจัยที่รัฐได้ให้งบประมาณสนับสนุนไปนั้นคุ้มค่าและไม่สูญเปล่า สามารถสร้างให้เกิดรายได้แก่ประชาชนคนไทย สร้างให้เกิดวัฒนธรรมการแข่งขันกันด้วยความรู้และเทคโนโลยี เกิดเป็นสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่แท้จริง โดย ร่าง พ.ร.บ.ฯ  นี้ ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 หลังจากนี้จะส่งต่อให้คณะกรรมาธิการร่วมซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาพิจารณา ก่อนประกาศใช้ต่อไป

6. ข้อเสนอปลดล็อคสำหรับ BCG in Action

ในการจัดทำข้อเสนอ BCG in Action : The New Sustainable Growth Engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการ พบว่ายังมีกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานที่กำหนดไว้ในปัจจุบันไม่เอื้อให้เกิดการดำเนินการตามแนวคิด BCG model รวมทั้งยังขาดมาตรการจูงใจที่จะปรับให้ระบบพัฒนาไปในทิศทางการพัฒนา BCG model เต็มรูปแบบ โดยในแผนที่นำทางภายใต้ข้อเสนอข้างต้น เครือข่าย BCG ได้รวบรวมข้อเสนอการปลดล็อคกฎหมาย กฎระเบียบ และการกำหนดมาตรฐานรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและมาตรการจูงใจ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG อาทิ การอำนวยความสะดวกในการขออนุญาตผลิตและขึ้นทะเบียน ผลิตภัณฑ์ BCG ใหม่ การอนุญาตให้ผลิตเคมีชีวภาพมูลค่าสูงเพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมมูลค่าสูง หรือการให้มีโรงงานต้นแบบหรือห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น นอกจากนี้ สอวช. ได้ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมด้านใหม่ หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ สำหรับสาขาที่สำคัญภายใต้ BCG model คือ สาขาเกษตรและอาหาร สาขาสุขภาพ สาขาพลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ สาขาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และวัฒนธรรม พร้อมได้จัดลำดับความสำคัญหัวข้อที่ควรได้รับการผ่อนปรนซึ่งจะส่งต่อไปสู่กลไกการส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ (Innovation Sandbox) เพื่อการนำร่องดำเนินการต่อไป

รอติดตามสรุปผลงานของ สอวช. ในปี 2563 ในมิติสุดท้าย ได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ สอวช.

สามารถอ่านรายละเอียดผลงานสำคัญของ สอวช. ในปี 2563

มิติที่ 1 : วางนโยบายทิศทางของประเทศ ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนา ได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/th/8511/

มิติที่ 2 : ขับเคลื่อนระเบียบวาระการพัฒนาที่สำคัญตอบยุทธศาสตร์ชาติ ได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/th/8559/

มิติที่ 3 : ออกแบบกลไกและแพลตฟอร์มการพัฒนากำลังคนของประเทศ ได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/th/8565/

มิติที่ 4 : การปฏิรูปเชิงระบบเพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่ดี (System Reform) ได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/th/8594/

ผู้ที่สนใจอ่านรายละเอียดรายงานประจำปี 2563 ของ สอวช. สามารถติดตามอ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/th/wp-content/uploads/2021/04/AnnualReport-2563.pdf

วันที่เผยแพร่
ชื่อบทความ
22/12/2021

ศูนย์ SMC สวทช. “ตอบโจทย์การผลิตยุคใหม่ พัฒนาไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0”

  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable  Manufacturing Cent...

22/12/2021
22/12/2021

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรือผลักดันโคลนเพื่อความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อการสนับสนุนด้านการวิจัยพัฒนาและการส่งเสริมอุตสาหกรรม และการสร้างความความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมวิจัยและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรือผลักดันโคลนเพื่อความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรร...

22/12/2021
22/12/2021

กลาโหม โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่งมอบหุ่นยนต์ให้บริการทางการแพทย์ (D–EMPIR CARE) จำนวน 3 ระบบ ให้กับ สธ. เพื่อสนับสนุนภารกิจทีมแพทย์ในโรงพยาบาลบุษราคัม

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.2562 โดยเป็นหน่วยงานที่สามารถดำเนินการด้านเทคโนโ...

22/12/2021