ด้านสังคมและสื่อสารสาธารณะ

โครงการศึกษาวิจัยสภาพการณ์สื่อและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ : การรายงานข่าวฆ่าตัวตายในสื่อโทรทัศน์

Media Alert ศึกษาวิเคราะห์ การรายงานข่าวฆ่าตัวตายในสื่อโทรทัศน์ ช่วงวันที่ 15 มิ.ย. – 15 ก.ค. 64 ด้วยเกณฑ์การนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายที่พัฒนาจากข้อเสนอขององค์กรด้านสุขภาพจิตและด้านการรายงานข่าวฆ่าตัวตาย ซึ่งมีจุดร่วมใน 3 แนวคิดสำคัญ คือ 1) ปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ฆ่าตัวตายและครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด 2) ป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ และ 3) นำเสนอข้อมูลการช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังคิดฆ่าตัวตาย เกณฑ์การวิเคราะห์ แบ่ง เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สิ่งที่สื่อควรหลีกเลี่ยง คือ ข้อมูล/เนื้อหาที่เป็นอันตราย (Harmful Information) ประกอบด้วย 13 เกณฑ์ย่อย และ สิ่งที่สื่อควรกระทำ คือ ข้อมูล/เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ (Helpful Information) ประกอบด้วย 4 เกณฑ์ย่อย หน่วยการศึกษา คือ คลิปการรายงานข่าวฆ่าตัวตายทางสื่อโทรทัศน์ ในช่วงวันที่ 15 มิ.ย. – 15 ก.ค. 64 ที่สืบค้นจากคลิปรายการข่าวทางทีวีดิจิทัลที่เผยแพร่ทางยูทูบ (อย่างคำนึงถึงความแตกต่างของเนื้อหาที่เสนอทางยูทูปกับฉบับเต็มที่ต่างกันของบางรายการ) ได้หน่วยการศึกษาคลิปข่าวฆ่าตัวตายรวม 8 กรณี จำนวน 18 คลิป ในจำนวนนี้เป็นการรายงานข่าวฆ่าตัวตายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 จำนวน 5 กรณี โดยมี 2 คลิปที่สะท้อนหรือเชื่อมโยงการฆ่าตัวตายกับประเด็นการบริหารจัดการของภาครัฐ ทั้งยังได้ทำการศึกษาวิเคราะห์การรายงานข่าวฆ่าตัวตายของยูทูปเบอร์ชื่อดัง จากคลิปข่าวโทรทัศน์ 3 รายการ ผลการศึกษา พบเนื้อหาที่สื่อควรหลีกเลี่ยงในทุกคลิปที่ศึกษา และไม่ปรากฏเนื้อหาที่สื่อควรกระทำ ในทุกคลิปที่ศึกษา เมื่อศึกษาเฉพาะกรณีการรายงานข่าวฆ่าตัวตายของยูทูปเบอร์ชื่อดังพบว่า สื่อมีความอ่อนไหวและระมัดระวังในการนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายของคนดัง และสื่อมีทางเลือกในการกำหนดวิธีการนำเสนอ ทั้งสามารถหลีกเลี่ยงการนำเสนอรายละเอียดการฆ่าตัวตาย แต่กลับพบว่าสื่อยังคงเลือกนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายที่เข้าข่ายเร้าอารมณ์ ละเมิดแนวทางการรายงานข่าวฆ่าตัวตาย การศึกษาในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนตัวอย่างรูปธรรมของการรายงานข่าวฆ่าตัวตายของสื่อที่เป็นหน่วยในการศึกษา ในช่วงเวลาของการศึกษา Media Alert จึงมีข้อเสนอให้สื่อปรับกระบวนทัศน์และวิธีการรายงานข่าวฆ่าตัวตาย ที่สอดคล้องกับหลักการสากล และคำนึงถึงผลกระทบต่อสาธารณะ

 

Link ข้อมูล : https://www.thaimediafund.or.th/mediaalert-factsheet09/

วันที่เผยแพร่
ชื่อบทความ
22/12/2021

กระแสข่าวแตงโม นิดา และวาระข่าวสารที่หายไปในรายการข่าวทีวี

สถานการณ์ข่าว แตงโม นิดา ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นกระแสข่าวที่ได้รับความสนใจสูง และรายการข่าวโทรทัศน์ต่างให้พื้นที่การนำเสนอเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นวาระข่าวที่สำคัญวาระหนึ่งในสังคม และจากผลสำรวจส...

22/12/2021
22/12/2021

นวัตกรรม-สื่อ (Media-Innovation)

ถ้าจะกล่าวว่า ในรอบสองทศวรรษกว่า ๆ (พ.ศ. 2550-2563) ที่ผ่านมา เราเกือบทุกคนในประเทศไทยคงเคยได้ยินคำว่า “นวัตกรรม” มากบ้างน้อยบ้างต่างกรรมต่างวาระกันไป มีการหยิบยกคำดังกล่าวมาใช้ในหลากหลายบริบทด้วยกัน ...

22/12/2021
22/12/2021

หลอมสื่อ รวมคน สู่หนทางสร้างสรรค์ สังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

การค้นคว้า ศึกษา รวบรวม และประมวลผลงานทางวิชาการเพื่อเป็นบทเรียนในการสร้างสรรค์ที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เคยให้การสนับสนุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการวิจัย เพื่อชี้ให้เห็นสภาพของบทเรียน...

22/12/2021