สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 ตาม พ.ร.บ. พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานบริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ มุ่งพัฒนาประเทศสู่ “เศรษฐกิจฐานความรู้” มีภารกิจหลักในการสนับสนุนงานวิจัย พัฒนาและสนับสนุนให้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม       ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา สวทช. ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานมาอย่างสม่ำเสมอ จุดแข็งของ สวทช. คือ กำลังคน เรามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพความเชี่ยวชาญ มีศักยภาพ เป็นพลังในการขับเคลื่อนการทำงานให้ สวทช. เป็นองค์กรเปิดด้านการวิจัยและพัฒนาที่ประเทศขาดไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีการสร้างงานวิจัยที่เข้มแข็ง และสร้างผลกระทบได้อย่างกว้างขวาง และที่ขาดไม่ได้ คือ สวทช. มีเครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตรที่เข้มแข็งเสมอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

การที่ สวทช. ดำเนินงานมาจนครบรอบ 30 ปี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และได้รับความเชื่อถือจากทุกภาคส่วนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญและได้ยึดถือกันมาตลอดก็คือ “Governance” และสิ่งที่ขอฝากไว้สำหรับนักวิจัยทุกคนก็คือ “การมีวินัย” ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความเจริญก้าวหน้าในส่วนของการขับเคลื่อน สวทช. “ผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนจะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ เมื่อทุกคนใส่พลังความคิดเข้าไปในทุกเรื่องที่ดำเนินการและรับผิดชอบ”

จังหวะเวลาการพัฒนาของ สวทช. ในบริบทโลก

ช่วงทศวรรษที่ 1 ของ สวทช. (พ.ศ. 2534–2542) ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองระดับโลก เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต, วิกฤตต้มยำกุ้ง, ไข้หวัดนก และ Y2K, มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกมากมาย เช่น การกำเนิดขึ้นของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW), สมาร์ตโฟน, บลูทูธ, USB และ QR Code รวมทั้งคอมพิวเตอร์ Deep Blue และแกะโคลนนิ่งดอลลี่, เกิดบริษัทรุ่นแรกๆ ซิลิคอนแวลลีย์ ทั้ง Yahoo!, Amazon และ Google มีโครงการระดับนานาชาติสำคัญคือ โครงการจีโนม โดยประเทศไทยเข้าร่วมโครงการจีโนมข้าว ขณะสหรัฐและรัสเซียและอีกหลายชาติร่วมมือกันสร้างสถานีอวกาศนานาชาติที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย นอกจากการถือกำเนิดของ สวทช. แล้ว ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมายเกิดขึ้นด้วย เช่น สกว., Internet Thailand, สซ., สบทร., อพวช. ฯลฯ ไทยมีดาวเทียมดวงแรก (ดาวเทียมไทยคม), สวทช. เริ่มมีผลงานที่สร้างผลกระทบสูงทางเศรษฐกิจและเข้าถึงคนจำนวนมาก เช่น เทคโนโลยีตรวจโรคกุ้ง, พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ Lexitron, BRT และแหนมไบโอเทค ฯลฯ, มีแผนสร้างกำลังคนผ่านการให้ทุนและการสร้างความร่วมมือทำวิจัยทั้ง JSTP และ TGIST และมีการตั้งหน่วยงานย่อยใน สวทช. เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม เช่น Software Park, TMEC, PTEC, ThaiCERT, DNATEC

วันที่เผยแพร่
ชื่อบทความ
22/12/2021

ศูนย์ SMC สวทช. “ตอบโจทย์การผลิตยุคใหม่ พัฒนาไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0”

  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable  Manufacturing Cent...

22/12/2021
22/12/2021

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรือผลักดันโคลนเพื่อความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อการสนับสนุนด้านการวิจัยพัฒนาและการส่งเสริมอุตสาหกรรม และการสร้างความความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมวิจัยและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรือผลักดันโคลนเพื่อความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรร...

22/12/2021
22/12/2021

กลาโหม โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่งมอบหุ่นยนต์ให้บริการทางการแพทย์ (D–EMPIR CARE) จำนวน 3 ระบบ ให้กับ สธ. เพื่อสนับสนุนภารกิจทีมแพทย์ในโรงพยาบาลบุษราคัม

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.2562 โดยเป็นหน่วยงานที่สามารถดำเนินการด้านเทคโนโ...

22/12/2021