ด้านสุขภาพ

การประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล

ภายหลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยให้ผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทาง
จิตเวช และหอบหืดหรือโรคเรื้อรังที่ไม่มีความซับซ้อนในการดูแล สามารถรับยาที่ร้านยา และได้ขยายผลการใช้ประโยชน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของ 4 กลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว สวรส.จึงได้ศึกษาวิจัย “ประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล” โดยร่วมกับทีมวิจัยจากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ร้านยามีศักยภาพและมีส่วนสำคัญในการดูแลประชาชน โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 เนื่องจากการรับยาที่ร้านยาทำให้สามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลให้ยังสามารถรับยาและมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง สำหรับด้านความพึงพอใจต่อบริการที่ร้านยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเนื่องจากการรับยาที่ร้านยาไม่ต้องรอคิวนาน คนไม่มาก มีความสะดวกในการเดินทาง มีความยืดหยุ่นของเวลาในการรับยาที่ร้านยา และมีเวลาปรึกษาเภสัชกรมากขึ้น 

ทั้งนี้ทีมวิจัยร่วมกับคณะกรรมการวิเคราะห์ข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบายและติดตามผลการดำเนินการนโยบายให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ได้มีข้อเสนอเชิงนโยบาย อาทิเช่น รูปแบบการรับยาที่ร้านยาควรเป็นแบบ refill-prescription โดยผู้ป่วยที่จะรับยาที่ร้านยาควรเป็นผู้ป่วย
โรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลประเมินว่าเหมาะสมไม่ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ก่อน ซึ่งทำให้ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้ป่วยสูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยต้องมีการดูแลด้านคุณภาพบริการและความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วยโดยเภสัชกรที่ร้านยา สปสช. ควรพิจารณาเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ และ สปสช. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ควรสนับสนุนให้เกิดการจัดทำระบบข้อมูล (minimum dataset) ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่สามารถแลกเปลี่ยนระหว่างโรงพยาบาลและร้านยา เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อเสนอจากงานวิจัยดังกล่าวได้นำเสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 และคณะกรรมการฯ ได้มีมติให้เพิ่มการเข้าถึงบริการด้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลช่วงสถานการณ์ระบาดโควิด-19 และขยายจำนวนร้านยาในโครงการรับยาใกล้บ้าน ทั้งในและนอกพื้นที่หน่วยบริการ พร้อมให้โรงพยาบาลเพิ่มเติมระบบจัดสำรองยาที่ร้านยาและระบบเติมยาของผู้ป่วยที่ร้านยา โดยคาดว่าจะสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้โอกาสนี้ในการปรับระบบการให้บริการเพื่อช่วยแก้ปัญหาลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ตลอดจนเพื่อการพัฒนาระบบบริการในระยะยาว โดยข้อเสนอจากงานวิจัยที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 ส่งผลให้คณะกรรมการฯ มีมติให้เพิ่มการเข้าถึงบริการด้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 และขยายจำนวนร้านยาในโครงการรับยาใกล้บ้าน ทั้งในและนอกพื้นที่หน่วยบริการ พร้อมให้โรงพยาบาลเพิ่มเติมระบบจัดสำรองยาและระบบเติมยาของผู้ป่วยที่ร้านยา ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้โอกาสนี้ในการปรับระบบการให้บริการเพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดจนเพื่อการพัฒนาระบบบริการในระยะยาวต่อไป อย่างไรก็ตาม โครงการฯ ดังกล่าวไม่ได้เน้นเฉพาะการลดความแออัดในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่เน้นสิ่งที่จะเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยบริการที่ได้รับจากเภสัชกรที่ร้านยาไม่แตกต่างกับที่โรงพยาบาล

วันที่เผยแพร่
ชื่อบทความ
22/12/2021

สปสช.ห่วงใยประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงชวนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  “ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล” เริ่ม 1 พ.ค.–31 ส.ค. นี้ ดูแลประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิ การรักษา ในปี 2565 ปรับบริการเปิด Walk-in ใครไปก่อนมีสิทธิฉีดก่อน ยกเว้น  กทม.ที่เปิดให้จองค...

22/12/2021
22/12/2021

“ร้านยาเป็นหน่วยบริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง” สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมพร้อมร้านยากว่า 700 แห่งทั่วประเทศจ่ายยาตามนโยบาย เจอ จ่าย จบ พร้อมคำแนะนำและติดตามอาการจากเภสัชกร

  โดยเฉพาะที่หน่วยบริการใกล้บ้าน สปสช.ได้ร่วมกับสภาเภสัชกรรม  เชิญชวนร้านยาที่มีความ พร้อมบริการเพื่อร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นหน่วยบริการดูแลผู...

22/12/2021
22/12/2021

“ฝังยาคุมกำเนิด” สิทธิประโยชน์สำหรับหญิงไทยกลุ่มเป้าหมายทุกสิทธิการรักษา

  บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรเป็นบริการภายใต้กองทุนบัตรทอง นอกจากบริการใส่ห่วงอนามัยแล้ว ยังรวมถึงบริการฝังยาคุมกำเนิด โดยกำหนดหลักเกณฑ์การรับบริการดังนี้ กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ต้องการคุมกำเนิด ห...

22/12/2021