ด้านสุขภาพ

การวิจัยสังเคราะห์และทบทวนเพื่อพัฒนามาตรการนำสารสกัดกัญชาใช้ในทางการแพทย์สำหรับประเทศไทย

หลังจากมีกระแสคลายล็อคกัญชา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางกฎหมาย ได้วางแนวทางเพื่อกำกับและวางระบบบริการ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นสามารถเข้าถึงการรักษาตามสิทธิขั้นพื้นฐาน ปลอดภัยและได้ประโยชน์จากการรักษา โดยการนำสารสกัดกัญชามาใช้ทางการแพทย์ในประเทศไทยค่อนข้างมีความซับซ้อน เนื่องจากส่วนหนึ่งแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านยังขาดการยอมรับ และขาดการประสานเชื่อมโยงกับระบบแพทย์แผนปัจจุบัน 

สวรส.จึงได้ศึกษาสถานการณ์ด้านอุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย และประเมินผลกระทบจากนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งพบว่า ผู้ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในรูปแบบน้ำมันสกัด โดยได้มาจากแหล่งนอกระบบ และนำมารักษาโรคหรืออาการหลายชนิดที่นอกเหนือคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข หรือไม่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน โดยมีการประมาณการจำนวนผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ทั้งหมดอยู่ที่ 11.83 ต่อประชากรหนึ่งพันคน และจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน การใช้กัญชาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพียงโรคเดียวคือ การรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากต้นทุนของน้ำมันสกัดกัญชา โดยเฉพาะ THC:CBD ที่ใช้ในการรักษายังมีราคาสูง ประเทศไทยจึงต้องการระบบการสร้างความรู้และการประเมินผลกระทบจากนโยบายอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง ทั้งนี้งานวิจัยได้ระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง จัดทำสื่อเผยแพร่และข้อเสนอเชิงนโยบายที่เหมาะสมเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์สำหรับประเทศไทย 

ทั้งนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย และทางเลือกนโยบาย เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลมาตรการและระบบในการควบคุม ผลิต และจัดบริการที่เกี่ยวข้องกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งช่วยป้องกันและลดผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศ ทำให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นสามารถเข้าถึงบริการที่เหมาะสมมากขึ้น ตลอดจนเป็นต้นแบบของระบบและกระบวนการติดตาม กำกับดูแลผลกระทบจากการออกนโยบายทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ และเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ให้กับบุคลากรสุขภาพ ผู้ป่วย และสังคม

วันที่เผยแพร่
ชื่อบทความ
22/12/2021

สปสช.ห่วงใยประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงชวนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  “ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล” เริ่ม 1 พ.ค.–31 ส.ค. นี้ ดูแลประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิ การรักษา ในปี 2565 ปรับบริการเปิด Walk-in ใครไปก่อนมีสิทธิฉีดก่อน ยกเว้น  กทม.ที่เปิดให้จองค...

22/12/2021
22/12/2021

“ร้านยาเป็นหน่วยบริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง” สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมพร้อมร้านยากว่า 700 แห่งทั่วประเทศจ่ายยาตามนโยบาย เจอ จ่าย จบ พร้อมคำแนะนำและติดตามอาการจากเภสัชกร

  โดยเฉพาะที่หน่วยบริการใกล้บ้าน สปสช.ได้ร่วมกับสภาเภสัชกรรม  เชิญชวนร้านยาที่มีความ พร้อมบริการเพื่อร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นหน่วยบริการดูแลผู...

22/12/2021
22/12/2021

“ฝังยาคุมกำเนิด” สิทธิประโยชน์สำหรับหญิงไทยกลุ่มเป้าหมายทุกสิทธิการรักษา

  บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรเป็นบริการภายใต้กองทุนบัตรทอง นอกจากบริการใส่ห่วงอนามัยแล้ว ยังรวมถึงบริการฝังยาคุมกำเนิด โดยกำหนดหลักเกณฑ์การรับบริการดังนี้ กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ต้องการคุมกำเนิด ห...

22/12/2021