ด้านสุขภาพ

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายและการวางแผนการปรับตัวหลังวิกฤตของระบบสุขภาพของประเทศไทย โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์พลวัตระบบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 เช่น การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของทีมวิจัยจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร ทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อเปรียบเทียบผลการศึกษากับการควบคุมโรคของนานาชาติ ตลอดจนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่จำเป็นต่อการควบคุมโรค เช่น ความเข้าใจของปัจจัยที่ทำให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีรูปแบบของการระบาดที่มีลักษณะจำเพาะและแตกต่างจากเชื้อไวรัสชนิดอื่น การคาดการณ์โอกาสในการเกิด Super Spreading Event (SSE) หรือโอกาสการสิ้นสุดการระบาด อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ทางระบาดวิทยาเหล่านี้เป็นการทำงานระยะสั้น ยังไม่ได้มุ่งเน้นการบูรณาการระบบการแก้ไขปัญหาโควิด-19 เพื่อทำงานสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายที่รอบด้านและต่อเนื่อง รวมถึงยังไม่ได้มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ผลการศึกษาจากแบบจำลองสถานการณ์เพื่อวางแผนการปรับตัวของระบบสุขภาพในระยะยาว ซึ่งบทเรียนที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายยังคงมีความต้องการข้อมูลจากการคาดการณ์สถานการณ์ด้านระบาดวิทยา (Epidemiological Scenarios) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีประเด็นใหม่ ๆ ในกระบวนการวางแผนและตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เช่น ต้องการคาดการณ์ผลลัพธ์ของทางเลือกเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถของระบบการตรวจโรคและติดตามผู้สัมผัสโรคเพื่อการแยกโรคในระดับพื้นที่เพื่อป้องกันระบาดระลอกที่สองและรองรับนโยบาย “Travel Bubbles” เพื่อเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวในระยะที่ผ่านมา เป็นต้น และเนื่องจากการทำงานทางระบบบริการสุขภาพในระยะสั้นที่ผ่านมามุ่งเน้นที่การเตรียมมาตรการรองรับผู้ติดเชื้อ
โควิด-19 แต่ในระยะยาวผู้กำหนดนโยบายยังต้องการทางเลือกเชิงนโยบายและการคาดการณ์ผลลัพธ์ของทางเลือกเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถของระบบสุขภาพให้เพียงพอต่อการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพทั้งผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อปฏิรูประบบสุขภาพให้สามารถรับมือกับวิกฤตโรคระบาดที่มีลักษณะคล้ายกันในอนาคต 

 

งานวิจัยจึงได้ศึกษาเพื่อคาดการณ์สถานการณ์ด้านระบาดวิทยา เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 และเยียวยาด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ รวมถึงพัฒนาทางเลือกเชิงนโยบายในการเพิ่มสมรรถนะของระบบการค้นหาผู้สัมผัสโรค และทดสอบผลลัพธ์ของทางเลือกเชิงนโยบายด้วยแบบจำลองสถานการณ์ เพื่อให้สามารถป้องกันการเกิดการระบาดของติดเชื้อโควิด-19 ระลอกต่อไป ซึ่งจากข้อมูลชี้ให้เห็นว่า จำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาในลักษณะของความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นเส้นตรง แต่ขึ้นอยู่กับค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน ซึ่งแสดงความสามารถในการแพร่เชื้อตามธรรมชาติของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากจำนวนคนเฉลี่ยที่ผู้ติดเชื้อ 1 คนสามารถแพร่เชื้อไปให้ได้ในกลุ่มประชากรที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน และค่าระดับการติดเชื้อที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งแสดงความสามารถของการแพร่เชื้อหลังจากมีการใช้นโยบายและมาตรการควบคุมโรค โดยที่ค่า Rt < 1 สะท้อนแนวโน้มควบคุมการระบาดได้ และจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องพบว่า ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยเป็นผลมาจากการปรับตัวที่ซับซ้อนของระบบสุขภาพ เช่น ในระยะแรกของการระบาดในประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนน้อย และเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เป็นผลมาจากกระบวนการควบคุมโรคที่มุ่งเน้นการกักโรคและแยกโรค โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ เสริมด้วยมาตรการด้านสุขอนามัยส่วนตัวและการเพิ่มระยะห่างทางกายภาพ แต่เมื่อเกิดการระบาดแบบกลุ่มในสถานบันเทิงของกรุงเทพมหานคร ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้กำหนดนโยบายตัดสินใจใช้นโยบายการควบคุมโรคเข้มข้น เช่น ปิดสถานประกอบการ ให้ประชาชนอยู่บ้าน และจำกัดการเดินทาง การกำหนดนโยบายมีความต้องการข้อมูลจากการคาดการณ์สถานการณ์ด้านระบาดวิทยาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีประเด็นใหม่ๆ ในกระบวนการวางแผนและตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ตลอดเวลา และเพื่อบูรณาการมาตรการควบคุมโรค โดยจัดการกับ 3 วงจรสำคัญของการระบาด ได้แก่ 1) นโยบายและมาตรการเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อของ “กลุ่มประชากรที่มีโอกาสติดเชื้อ” และ “กลุ่มประชากรผู้สัมผัสเชื้อ” 2) นโยบายและมาตรการซึ่งให้ความสำคัญในการกักโรคและแยกโรค รวมทั้งการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ เพื่อทำให้ “กลุ่มผู้ติดเชื้อและแพร่เชื้อได้” ไม่กลับมาอยู่ในวงจรการแพร่เชื้อ แต่ให้อยู่ใน “วงจรการฟื้นตัว” ให้เร็วที่สุดและมากที่สุด และ 3) นโยบายและมาตรการเพื่อเตรียมทรัพยากรทางการแพทย์ให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่วงจรที่ 3 หรือ “วงจรการเสียชีวิต” ควบคู่กับการเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่น กระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยงานวิจัยนี้เป็นฐานความรู้ให้กับการพัฒนานโยบายทางเลือกการจัดการวัคซีนโควิด-19 ที่มีส่วนร่วมจากภาคเอกชน ภาคประชาชน และได้มีการนำข้อเสนอผลวิจัยให้กับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขเพื่อเป็นองค์ความรู้ในการรับมือทั้งโรคโควิด-19 และโรคติดต่ออุบัติใหม่ในอนาคต

วันที่เผยแพร่
ชื่อบทความ
22/12/2021

สปสช.ห่วงใยประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงชวนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

&nbsp; “ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล” เริ่ม 1 พ.ค.–31 ส.ค. นี้ ดูแลประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิ การรักษา ในปี 2565 ปรับบริการเปิด Walk-in ใครไปก่อนมีสิทธิฉีดก่อน ยกเว้น  กทม.ที่เปิดให้จองค...

22/12/2021
22/12/2021

“ร้านยาเป็นหน่วยบริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง” สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมพร้อมร้านยากว่า 700 แห่งทั่วประเทศจ่ายยาตามนโยบาย เจอ จ่าย จบ พร้อมคำแนะนำและติดตามอาการจากเภสัชกร

&nbsp; โดยเฉพาะที่หน่วยบริการใกล้บ้าน สปสช.ได้ร่วมกับสภาเภสัชกรรม  เชิญชวนร้านยาที่มีความ พร้อมบริการเพื่อร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นหน่วยบริการดูแลผู...

22/12/2021
22/12/2021

“ฝังยาคุมกำเนิด” สิทธิประโยชน์สำหรับหญิงไทยกลุ่มเป้าหมายทุกสิทธิการรักษา

&nbsp; บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรเป็นบริการภายใต้กองทุนบัตรทอง นอกจากบริการใส่ห่วงอนามัยแล้ว ยังรวมถึงบริการฝังยาคุมกำเนิด โดยกำหนดหลักเกณฑ์การรับบริการดังนี้ กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ต้องการคุมกำเนิด ห...

22/12/2021