ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลงานสำคัญของ สอวช. ในปี 2563 มิติที่ 1 : วางนโยบายทิศทางของประเทศ ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนา

ในปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนงานของ สอวช. ดำเนินการทั้งในด้านการพัฒนาระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อววน.) ของประเทศให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ และการใช้ประโยชน์จากระบบ อววน. ให้เกิดประสิทธิผลต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่ง สอวช. คาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว และเปิดโอกาสให้มีการนำระบบ อววน. ไปใช้ประโยชน์ต่อภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งในการฟื้นฟูประเทศในระยะเร่งด่วนและการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยเราได้แบ่งผลการทำงานในปี 2563 ออกเป็น 6 มิติด้วยกัน ในครั้งนี้จะพาทุกคนไปดูผลการทำงานในมิติที่ 1 กันก่อน

 

มิติที่ 1 คือการวางนโยบายทิศทางของประเทศ ด้าน อววน. เพื่อการพัฒนา ผ่านการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อบ่มเพาะแนวคิดที่หลากหลายเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนานโยบายและโซลูชั่นที่ใช้งานได้จริง การกำหนดทิศทาง อววน. ให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคส่วนต่างๆ และสอดคล้องกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงระบบและการใช้เครื่องมือการมองอนาคต เพื่อระบุแนวโน้มที่สำคัญและวาระการพัฒนา อววน. ในระยะยาว

4 ผลงานสำคัญในมิติที่ 1 ประกอบด้วย

1. ทิศทางการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการฟื้นตัวของประเทศหลังวิกฤตโควิด-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชากร เพื่อส่งเสริมการใช้ อววน. เป็นเครื่องมือสำหรับการฟื้นตัวของประเทศ สอวช. จึงได้วิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากตัวเลขสถิติข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบัน การประชุมระดมความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และเอกสารเผยแพร่ต่างๆ จัดทำเป็นเอกสาร “ทิศทางการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการฟื้นตัวของประเทศหลังวิกฤตโควิด-19” เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา อววน. อย่างบูรณาการ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหลังวิกฤตโควิด-19 มุ่งเน้นการใช้ อววน. เพื่อขจัดความยากจน สร้างความมั่นคงของมนุษย์ พัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและวางรากฐานเพื่ออนาคต พัฒนากำลังคนและการอุดมศึกษา และปฏิรูประบบ อววน. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการนโยบายยุทธศาสตร์ และแผนด้าน อววน. ซึ่ง สอวช. หวังว่าแนวทางการปรับตัวของประเทศที่ได้นำเสนอนี้ จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางช่วยให้ประเทศไทยพร้อมรับมือ และมีภูมิคุ้มกันกับความเปลี่ยนแปลง และสามารถปรับตัวสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ผู้สนใจสามารถอ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/HESRI_policy

2. ภาพอนาคตประเทศไทยหลังวิกฤต COVID-19

สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation) ได้ศึกษาและจัดทำภาพอนาคตประเทศไทยหลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย ผลการศึกษานี้ ช่วยให้เห็นภาพอนาคตของประเทศไทยหลังวิกฤติโควิด-19 โดยเปรียบเทียบภาพอนาคตของประเทศเป็น 4 เส้นทางและการเดินทางที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญ คือ “ซิ่งทางด่วน” (Rosy Scenario) “หลงป่า ติดหล่ม(Doomsday Scenario) “วิ่งเลียบผา” (Risky Business) และ “ลากเกียร์ต่ำ” (Slow but Sure) นอกจากนี้ยังได้นำเสนอบทสรุปในเบื้องต้นต่อนโยบายในภาพรวมและทิศทางพร้อมข้อเสนอแนะรายสาขาสำหรับ 11 สาขาการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งช่วยให้หน่วยงานสามารถวางยุทธศาสตร์ที่พร้อมรับกับทุกสถานการณ์อย่างถี่ถ้วน ส่งผลให้ผลงานนี้ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยและนวัตกรรมดีเด่นตอบรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และการปรับตัวอันเนื่องมาจากภาวะวิกฤตโควิด-19 ประจำปี 2563 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ด้วย

ผู้สนใจสามารถอ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/PostCOVID-19

3. กรอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ

สอวช. ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) จัดทำ “กรอบทิศทางด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2565” เพื่อเป็นกรอบการจัดทำแผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ กรอบแผนนี้ย้ำจุดเน้นสำคัญของนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา คือการปฏิรูประบบการอุดมศึกษาของประเทศไทย การเรียนรู้ตลอดชีวิตและทักษะเพื่ออนาคต มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการและธุรกิจนวัตกรรม และการเคลื่อนย้ายบุคลากรผู้มีศักยภาพสูง

โดยคาดหวังว่า กรอบแผนด้านการอุดมศึกษาฯ นี้จะส่งผลให้เกิดนโยบายที่ชัดเจนในด้านการอุดมศึกษา ทำให้เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการอุดมศึกษา ดังต่อไปนี้ 1) สถาบันอุดมศึกษาสามารถตอบสนองความต้องการของประเทศบนพื้นฐานของความเป็นเลิศ การสร้างจุดต่างและความหลากหลาย 2) ผู้เรียนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพสูง เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพและมีรายได้สูงเพียงพอที่จะช่วยเหลือยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวที่ดีขึ้นในอนาคต 3) บัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีสมรรถนะที่พร้อมทำงานตอบสนองภาคส่วนผู้ใช้งาน 4) มีระบบนิเวศที่ดึงดูด Global Talent ให้เข้ามาใช้ศักยภาพในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่

4. Recovery Forum: เวทีระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญนโยบายในสาขาต่าง ๆ เพื่อรองรับการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในช่วงวิกฤตการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

สอวช. ได้จัด Recovery Forum ขึ้นเพื่อเป็นเวทีการเสวนาระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา เช่น ด้านสาธารณสุข ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ โดยข้อมูล/ข้อเสนอแนะที่ได้จากการจัดเวทีเสวนา ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งการจัดทำรายงานการศึกษา ไปจนถึงการประสานเชื่อมโยงและขับเคลื่อนมาตรการสำคัญต่างๆ โดยผลจากการระดมสมอง ทำให้ได้รวบรวมและจัดทำรายงานการศึกษา จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ รายงานการศึกษา “มาตรการด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อรองรับการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” และ “มองภาพอนาคตประเทศไทย: แนวทางการรับมือหลังวิกฤต COVID-19” ซึ่งได้รับรางวัลผลงานดีเด่น ประจำปี 2563 กระทรวง อว. นอกจากนี้ ยังขับเคลื่อนโยบายสำคัญผ่านการดำเนินโครงการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ การส่งเสริมการ Upskill/Reskill และการขจัดความยากจนอย่างตรงจุดลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยยุคหลังโควิด

ผู้สนใจสามารถอ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/Covid_recovery
https://www.nxpo.or.th/PostCOVID-19

ผลงานของ สอวช. ในปี 2563 ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในครั้งหน้าจะพาทุกคนไปดูผลงานสำคัญอื่นๆ ในอีก 5 มิติ สามารถรอติดตามได้ทางแฟนเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ สอวช.

ส่วนผู้ที่สนใจอ่านรายละเอียดรายงานประจำปี 2563 ของ สอวช. สามารถติดตามอ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/th/wp-content/uploads/2021/04/AnnualReport-2563.pdf

วันที่เผยแพร่
ชื่อบทความ
26/11/2021

ศูนย์ SMC สวทช. “ตอบโจทย์การผลิตยุคใหม่ พัฒนาไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0”

  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable  Manufacturing Cent...

26/11/2021
26/11/2021

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรือผลักดันโคลนเพื่อความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อการสนับสนุนด้านการวิจัยพัฒนาและการส่งเสริมอุตสาหกรรม และการสร้างความความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมวิจัยและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรือผลักดันโคลนเพื่อความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรร...

26/11/2021
26/11/2021

กลาโหม โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่งมอบหุ่นยนต์ให้บริการทางการแพทย์ (D–EMPIR CARE) จำนวน 3 ระบบ ให้กับ สธ. เพื่อสนับสนุนภารกิจทีมแพทย์ในโรงพยาบาลบุษราคัม

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.2562 โดยเป็นหน่วยงานที่สามารถดำเนินการด้านเทคโนโ...

26/11/2021